สวัสดีค่ะ สุมาลี แกล้วกล้า ครูอุ๊.. โรงเรียนวัดเกตุน้อย

วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑


สวัสดีค่ะท่านผู้ชมทุกท่าน............

วันอังคารที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

กระเทียมโทนสามรส จุฑาทอง


ข้อมูลรายละเอียดสินค้าหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 700718-B001ผลิตภัณฑ์ (Product) กระเทียมโทนสามรส จุฑาทองรายละเอียดผลิตภัณฑ์กระเทียมโทนสามรส จุฑาทอง ขวดใหญ่ (2649)ขนาด (Size : cm) กว้าง เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เซนติเมตรสูง 15 เซนติเมตรน้ำหนัก (Weight : g)655 กรัมราคาขายส่ง 55 บาท ราคาขายปลีก 75 บาทสินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ 2547ประเภทผลิตภัณฑ์ :อาหารระดับดาว :มาตรฐาน อย : 70-2-00845-2-0001สถานที่จำหน่าย กลุ่มกระเทียมโทนสามรสจุฑาทอง 123 หมู่ที่ 7ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120ติดต่อ : คุณชาลิสา กมลจรัสธาราโทร : 06-1738825032-359804 (บ้านพักวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี

สมาคมเครื่องเคลือบดินเผาจังหวัดราชบุรี


ข้อมูลรายละเอียดสินค้ารหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 700117-A01ผลิตภัณฑ์ (Product) กระถางดินเผารายละเอียดผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กระถางดินเผา มีหลายรูปแบบและหลายขนาดทั้งมีลวดลายและไม่มีลาย โดยใช้ดินเหนียวในพื้นที่ซึ่งมีคุณภาพดี แข็งแรงทนทาน สีสวย (OTOP) น้ำหนัก (Weight : g)1,500 กรัมราคาขายส่ง 50 บาทราคาขายปลีก 100 บาทวัตถุดิบที่ใช้ดินเหนียว, ทรายละเอียด, แกลบสถานที่จำหน่าย สมาคมเครื่องเคลือบดินเผาจังหวัดราชบุรี 87/2 หมู่ 4ต.หลุมดิน อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 ติดต่อ : นางสาวจุรีรัตน์ โฆษะบดีโทร :032 312932, 01 9432815

ภูมิปัญญาไทย


ผลิตภัณฑ์ทองเหลือง
ข้อมูลรายละเอียดสินค้า
รหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 700103-A107ผลิตภัณฑ์ (Product) กวางรายละเอียดผลิตภัณฑ์มี 3 ขนาด- ใหญ่ กว้าง 17 ซม. ยาว 15 ซม.ขายส่ง 1200 บาท ขายปลีก 1500 บาทกลาง กว้าง 12 ซม. ยาว 10 ซม. ขายส่ง 1000 บาท ขายปลีก 1200 บาทเล็ก กว้าง 7 ซม. ยาว 5 ซม. ขายส่ง 500 บาท ขายปลีก 700 บาทวัตถุดิบที่ใช้ทองเหลืองสถานที่จำหน่าย กลุ่มผลิตภัณฑ์ทองเหลือง42 หมู่ 7 บ้านเขาลอย ต.ดอนตะโกอ.เมือง จ.ราชบุรี 70000ติดต่อ : นางบัวพาน เลิศจิตรโทร : 032 327554, 09 9043874http://www.thaitambon.com/ สมาคมเครื่องเคลือบดินเผาจังหวัดราชบุรีข้อมูลรายละเอียดสินค้ารหัสผลิตภัณฑ์ (Code): 700117-A01ผลิตภัณฑ์ (Product) กระถางดินเผารายละเอียดผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กระถางดินเผา มีหลายรูปแบบและหลายขนาดทั้งมีลวดลายและไม่มีลาย โดยใช้ดินเหนียวในพื้นที่ซึ่งมีคุณภาพดี แข็งแรงทนทาน สีสวย (OTOP) น้ำหนัก (Weight : g)1,500 กรัมราคาขายส่ง 50 บาทราคาขายปลีก 100 บาทวัตถุดิบที่ใช้ดินเหนียว, ทรายละเอียด, แกลบสถานที่จำหน่าย สมาคมเครื่องเคลือบดินเผาจังหวัดราชบุรี 87/2 หมู่ 4ต.หลุมดิน อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000 ติดต่อ : นางสาวจุรีรัตน์ โฆษะบดีโทร :032 312932, 01 9432815

โครงการฝนหลวง


จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรง
พบเห็นท้องถิ่นหลายๆแห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการทำ
เกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรจะประสบความเดือดร้อน ทุกข์ยากมาก เนื่องจากบางครั้ง
ฝนได้ทิ้งช่วงนานหรือภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดในระยะวิกฤติของพืชผล คือพืชอยู่ในระยะที่กำลังให้ผลผลิตต่ำ หรือ
อาจจะไม่มี ผลผลิตให้เลย เป็นต้น ดังนั้นภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงใน แต่ละครั้ง/แต่ละปีจึงสร้างความ
เดือดร้อน และความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ภาวะความต้องการใช้น้ำนับวัน
จะทวีปริมาณความต้องการเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมและการเจริญ
เติบตของกลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลและทรง ความอัจฉริยะในพระองค์ท่านดังนั้นในปี
พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับ จากธรรมชาติ
โดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝน ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย
มุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัย เชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้ การพัฒนา
ระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิด ความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฏจักรของ น้ำ คือ1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน3. การพัฒนา การ จัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใน บรรยากาศและทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วย ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะ สามารถดำเนินการ
ให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอนดังนั้น ในปี พุทธศักราช 2499 จึงได้ทรง พระมหากรุณาพระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"
ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการ ศึกษา วิจัย และ การพัฒนา กรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ตามลำดับ ดังนี้ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน" เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติ เริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการฝนหลวง ในขั้นตอนนี้ จะมุ่ง
ใช้สารเคมีไปกระตุ้น ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่ เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ ความชื้นเข้า
สู่ระบบการเกิด เมฆ ระยะ เวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้
สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวล อากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำ (มี ค่า Critical relative
humidity ต่ำ)เพื่อกระตุ้น กลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวล อากาศ (เป็นการสร้าง Surrounding
ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือ ลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และ
เจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคาย ความร้อนโปรยเป็นวงกลม หรือเป็นแนวถัดมา ทางใต้ลมเป็นระยะ
ทางสั้นๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม(main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้
เป็นศูนย์กลาง ที่ จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไปขั้นตอน ที่ สอง : "เลี้ยง ให้ อ้วน" เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก ในการปฏิบัติการ
ฝนหลวง เพราะจะต้องไป เพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้อง ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์หรือ
ศิลปะแห่ง การทำฝนควบคู่ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่ม ก้อนเมฆ และ
ในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล กับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะ
ทำให้เมฆ สลายขั้นตอน ที่ สาม : "โจมตี" เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธี ปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมี ความหนา
แน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็น ฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปใน
กลุ่มเมฆฝนนี้ จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้า ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และอาศัย ประสบการณ์มาก
เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ ลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการ
ปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก
(Rain enhancement) และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน (Rain redistribution)เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ใน การตรวจวัด และศึกษาสภาพอากาศประกอบการ วางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจาก
แผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวัน จาก กรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่
1.1 เครื่องวัดลมชั้นบน (Pilot Balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็ว ลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป
1.2 เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (Radiosonde) เป็นเครื่องมือ อิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ
ซึ่งจะ ติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทย ุ ซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น
ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
1.3 เครื่องเรดาร์ ตรวจอากาศ (Weather Radar) ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ
สามารถบอกบริเวณ ที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและ การเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-
400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล ปฏิบัติการ
ฝนหลวงอีกด้วย
1.4 เครื่องมือตรวจ อากาศผิวพื้นต่างๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิเครื่องวัด ความเร็วและทิศทางลมเครื่อง
วัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่อง บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและ แบบผง ถัง และ
กรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น3. เครื่องมือ สื่อสาร ใช้ในการติดต่อ สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบน เครื่องบิน กับฐานปฏิบัติการ
หรือระหว่างฐาน ปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐาน ปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดย
อาศัยข่าย ร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรม ไปรษณีย์
โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องทรพิมพ์
เป็นต้น4. เครื่องมือ ทาง วิชาการ อื่นๆ เช่นอุปกรณ์ ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้อง ส่อง ทางไกล
เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ และ อื่นๆ5. สถานี เรดาร์ฝนหลวง ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์ วิทยาศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศ
ประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น Doppler radar จัดเป็น เครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ที่มีมูลค่าสูงสุด
Doppler radar นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง สาธิตเครื่อง
มือชนิดนี้ ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์(Microvax 3400) ควบคุม การสั่งการการ เก็บบันทึก
รวบรวม ข้อมูล สามารถ นำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ใน รูปแบบการทำงานของ IRIS
(IRIS Software) ผ่าน Processor (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทป
บันทึกข้อมูล ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถ นำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับ ระบบเรดาร์ การแสดงผล/
ข้อมูล โดย จอภาพ (TV.monitor) ขนาด 20 นิ้ว สถานที่ตั้ง Doppler radar หรือ ที่
เรียกว่า สถานี เรดาร์ฝนหลวง นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัด เชียงใหม่ด้วยความสำคัญและปริมาณความต้องการให้ ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น ฉะนั้นเพื่อ
ให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถ ปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง และได้ ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาล
จึงได้ตราพระราช กฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการ ฝนหลวงขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518 เพื่อ เป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระ
ราชดำริฝนหลวง ต่อไปจากกรรมวิธีการทำฝนหลวงที่ใช้เป็นหลัก อยู่ในปัจจุบัน คือการโปรยสารเคมีฝนหลวง จากเครื่องบิน
เพื่อเร่งหรือเสริมการก่อตัว และ การเจริญเติบโตของเมฆ และการโจมตีกลุ่ม เป้าหมาย ที่ต้องการที่เคย
ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบันนี้ นั้นใน บางครั้งก็ประสบปัญหาที่ไม่สามารถ ปฏิบัติการตาม
ขั้นตอน กรรมวิธีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ในขั้นโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมาย ไม่สามารถกระทำ
ได้เนื่องจากฝนตกปกคลุมสนามบิน เกิดลมพายุปั่นป่วน และรุนแรง เครื่องบิน ไม่สามารถบินขึ้น
ปฏิบัติการได้ ทำให้กลุ่มเมฆ เคลื่อนพ้นพื้นที่เป้าหมาย จากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงได้มีการวิจัยและ
ทดลองกรรมวิธี การทำฝน เพื่อการพัฒนาและก้าวหน้าบรรลุ เป้าหมายยิ่งขึ้นอีกระดับหนึ่ง อาทิเช่น
การทำวิจัย สร้างจรวดบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือยิงจากเครื่องบิน จึงได้มี การเริ่ม
วิจัยประดิษฐ์จรวดทำฝนร่วมกับ กรมสรรพาวุธทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2515-2516 จนก้าวหน้าถึง
ระดับทดลองยิงในเบื้องต้นแล้ว แต่ต้อง หยุดชะงักด้วยความจำเป็นบางประการของ กรมสรรพาวุธ
ทหารบกจนถึงพ.ศ.2524 คณะกรรมการสภาวิจัย แห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาและ วิจัย
จรวดฝนเทียมขึ้นประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านจรวดของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ นักวิชาการ
ของสภาวิจัยแห่งชาติ และนักวิชาการฝนหลวงซึ่ง ได้ทำการวิจัยประดิษฐ์และพัฒนาจรวด ต้นแบบขึ้น
ทำการทดลองยิงทดสอบก้าวหน้า มาตามลำดับ และถึงขั้นบรรจุสารเคมีเพื่อ ทดลองยิงเข้าสู่ก้อนเมฆจริง
แล้วในปี พ.ศ. 2530 ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นทำการผลิต จรวดเชิงอุตสาหกรรมเพื่อทำการยิงทดลอง
และตรวจสอบผลในเชิงปฏิบัติการต่อไป ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง พระกรุณา
พระราชทานแนวความคิดในการวิจัยชิ้นนี้อาจกล่าวได้ว่าการวางแผนและกำหนดกรรมวิธี ในการทำฝนหลวงในขั้นตอนต่างๆนั้น ได้ มาจาก
พระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้ง
การนำความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการดำเนินงานให้แต่ละขั้นตอนมี ประสิทธิ
ภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิทยุสื่อสาร, ดาวเทียม หรือ แม้แต่คอมพิวเตอร์ ก็ตาม กล่าวคือ
พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

โครงการแก้มลิง


"...ตามปกติ เวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง... เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม
น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ "โครงการแก้มลิง" น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่ว
ภาคกลาง จะต้องทำ "แก้มลิง" เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้..."พระราชดำรัส ๔ ธันวาคม ๒๔๓๘"โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
ตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชโครงการปรับปรุง
และก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนัก ในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา
เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลาก
ท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่านเสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วม
พื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งรวมถึง
เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน คืนวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ดูแลปัญหาน้ำท่วมเข้าเฝ้าฯเพื่อรับพระราชทานแนวพระราชดำริการ
ป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่บริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑลโดยทรงเปรียบเทียบการ กินอาหารของลิงหลังจาก
ที่ลิง เคี้ยวกล้วยแล้วจะยังไม่กลืน แต่จะเก็บไว้ภายในแก้มทั้งสองข้างแล้วค่อย ๆ ดุนกล้วยมากินในภาย
หลังเช่นเดียวกับกรณีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา รวมทั้งน้ำที่ขึ้นมาตามซอยต่าง ๆ เมื่อน้ำทะเลหนุนให้
ไปเก็บไว้ที่บึงใหญ่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ชายทะเล และมีประตูน้ำขนาดใหญ่สำหรับปิดกั้นน้ำบริเวณแก้มลิง
สำหรับฝั่งตะวันตกจะอยู่ที่คลองชายทะเลด้านฝั่งตะวันออกบริเวณแก้มลิงจะอยู่ที่คลองสรรพสามิต เมื่อ
เวลาน้ำทะเลลดลงให้เปิดประตูระบายน้ำออกไป บึงจะสามารถรับน้ำชุดใหม่ต่อไปแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green
Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมี
น้ำหลาก ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟ
และทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนน
สุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิท
เป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบนร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการ
ดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมี
ประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลอง
เจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์
เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวด
เร็วขึ้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ "แก้มลิง"
มีลักษณะและวิธีการดังนี้๑. ดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน ให้ไหลลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณชาย
ทะเล
๒. เมื่อระดับน้ำทะเลลดต่ำกว่าระดับน้ำในคลอง ก็ทำการระบายน้ำจากคลองดังกล่าวโดย
ใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) ตามธรรมชาติ
๓. สูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่ "แก้มลิง" นี้ เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆ ไหลมาเองตลอดเวลา
ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมพื้นที่ลดน้อยลง
๔. เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในลำคลอง ให้ทำการปิดประตูระบายน้ำโดยยึดหลักน้ำไหล
ลงทางเดียว (One Way Flow)หลัก ๓ ประการ ที่จะทำให้โครงการแก้งลิงมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ คือ
การพิจรณา๑. สถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีการชักนำน้ำท่วมไหลเข้าสู่บ่อพักน้ำ
๒. เส้นทางน้ำไหลที่สะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่แหล่งที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ
๓. การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง"โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา" ใช้คลองชายทะเลตั้งอยู่ริมทะเลด้านจังหวัด
สมุทรปราการทำหน้าที่เป็นบ่อพักน้ำหรือบ่อรับน้ำส่วน"โครงการแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของ
แม่น้ำเจ้าพระยา" ทำหน้าที่รับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อระบายออกทะเลด้าน
จังหวัดสมุทรสาครพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ เพื่อให้การระบายน้ำ
ท่วมออกทะเลเร็วขึ้นด้วยวิธีการต่างๆอาทิ โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"ซึ่งใช้หลักการ
ในการควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน คือ เปิดระบายน้ำจำนวนมากลงสู่อ่าวไทยเมื่อระดับน้ำทะเลต่ำโครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครง
การด้วยกัน คือ๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง
๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย"
๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน" โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้
รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริ
อันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า"...ได้ดำเนินการในแนวทาง ที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อ
ไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี


สำหรับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่อยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้ กรมชลประทาน
ศึกษาความเหมาะสมและผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัย
ทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำ เจ้าพระยาตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2532ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัส พระราชทาน
แก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ขณะ เสด็จฯ ทอดพระเนตรหุ่นจำลองเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในงานนิทรรศการเทค
โนอินโดไชน่าที่องค์การ สหประชาชาติว่า "72 ปี ยังเดินไหว จะไปเปิด เขื่อนป่าสัก" เขื่อนดิน แกนดินเหนียว
สันเขื่อนยาว 4,860 เมตร สูง 36.50 เมตร อยู่ไม่ไกลกรุงเทพฯเท่าไรราว 150 กม.เท่านั้น หากมีรถ
ไปเองขับไปตามถนนพหลโยธิน เมื่อไปถึง3 แยกพุแคเลี้ยวขวาเข้าไปในถนนสายสระบุรี-หล่มสัก ประมาณ
41 กม. มีป้ายบอกทางตลอด ต่อมาวันที่ 3 พ.ค. 2537 คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ให้ดำเนินโครงการก่อสร้าง
เขื่อนขนาดใหญ่ ที่บ้านหนองบัว ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โครงการนี้ใช้เวลา ในการก่อสร้าง 5 ปี
ระหว่าง 2537-2542 โดยเริ่มลงมือ ก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2537 ที่บริเวณหัวงาน ต.หนองบัว
ลักษณะเขื่อนเป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว สันเขื่อนยาว 4,860 เมตร สูง 36.50 เมตร เก็บกักน้ำได้
สูงสุด 960 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับ 43 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ปานกลาง มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
114,119 ไร่ ประมาณ 7,700 ครอบครัว ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 23,336 ล้านบาท โดย
เริ่มเก็บกักน้ำครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2541 สมเด็จพระเทพรัตน- ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เสด็จฯ ทรง เป็นประธานในพิธีเริ่มเก็บกักน้ำเขื่อนป่าสักพิพิทธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสักนอกจากนี้ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ยังอยู่ใกล้ กรุงเทพฯ มีการคมนาคมสะดวกสบาย สามารถ เป็นแหล่งท่อง
เที่ยวทีสำคัญได้อีกแห่งหนึ่ง และ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือ การท่องเที่ยวทางรถไฟ เนื่องจากมีการก่อสร้าง
ทางรถไฟลอยฟ้า ซึ่งนับ เป็นทางรถไฟแห่งแรกในประเทศไทยที่ก่อสร้าง ผ่านตัวอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งยังมี
พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำ ป่าสักอีกด้วยท่อระบายน้ำ ทำหน้าที่เป็นท่อน้ำล้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2542 พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว สมด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนารถ
เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเป็น
ประธานในพิธีเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ อ.พัฒนา นิคม จ.ลพบุรี โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
วัดปากน้ำภาษีเจริญกรุงเทพฯ ประธานสงฆ์ถวายศิลมองจากสันเขื่อนทิศใต้ ไปยังทิศเหนือเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2541 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ
เขื่อนว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" หมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมี ประสิทธิภาพ"
ซึ่งแม่น้ำป่าสักเป็นแม่น้ำสาขา สายหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มจากอำเภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย ไหล
ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี มาบรรจบกับแม่น้าเจ้าพระยาที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับเป็น
แม่น้ำสายสำคัญ ของภาคกลางตอนล่าง ประตูระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี

กังหันน้ำชัยพัฒนา


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และ
ทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระ
ราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูป
แบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหัน
น้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคกังหันน้ำชัยพัฒนา เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากที่เกิดขึ้นนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร
สภาพน้ำเสียในพื้นที่หลายแห่งหลายครั้ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด
พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขน้ำเน่าเสีย ในระยะแรกระหว่างปี พ.ศ. 2527
-2530 ทรงแนะนำให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยบรรเทาน้ำเสียและวิธีกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา
และพืชน้ำต่างๆ ซึ่งก็สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้ผลในระดับหนึ่ง กังหันน้ำพระราชทาน ต่อมาใน
ช่วงปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา สภาพความเน่าเสียของน้ำบริเวณต่างๆ มีอัตราแนวโน้มรุนแรงมาก
ยิ่งขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจบรรเทาความเน่าเสียของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร พระบาท
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงขอพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัด
ค่าใช้จ่าย สามารถผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ "ไทยทำไทยใช้"โดยทรงได้แนวทางจาก
"หลุก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิดน้ำเข้านาอันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นจุดคิดค้นเบื้องต้น และทรงมุ่งหวัง
ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย การนี้ จึงทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อการศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้
โดยดำเนินการจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียร่วมกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการผลิตเครื่องกลเติม
อากาศขึ้นในเวลาต่อมา และรู้จักกันแพร่หลายทั่วไประเทศในปัจจุบันคือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"พระราชดำริ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน
รูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญ
คือ การเติมอากาศลงในน้ำเสีย มี 2 วิธีวิธีหนึ่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบ
กระจายฟองและอีกวิธีหนึ่ง น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้
ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาดเล็ก
ไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบ แล้วนำไปติดตั้ง
ทดลองใช้บำบัดน้ำเสียที่ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหารการศึกษา วิจัย และพัฒนากรมชลประทานรับสนองพระราชดำริในการศึกษาและสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงเครื่องสูบน้ำ
พลังน้ำจาก "กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย" เปลี่ยนเป็น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" และได้นำไปติดตั้งใช้
ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่
วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัด
น้ำเสีย เป็นระยะเวลา 4-5 ปีคุณสมบัติกังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (Chaipattana
Low Speed Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง
Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2
กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำ
ได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ
หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ ที่มีความลึกมากกว่า 1.00 เมตร และมีความกว้างมาก
กว่า 3.00 เมตร
หลักการทำงานเครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" แบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับ
ขึ้นลงของน้ำ ส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ โครงกังหันรูป 12 เหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
2.00 เมตร มีซองน้ำขนาดบรรจุ 110 ลิตร ติดตั้งโดยรอบจำนวน ซอง เจาะรูซอง
น้ำพรุน เพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย ซองน้ำนี้จะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบ ด้วย
มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า ระบบแรงดัน 380 โวลต์ 3 เฟส 50 เฮิร์ท ผ่านระบบ
ส่งกำลังด้วยเฟืองเกียร์ทอรอบและ/หรือ จานโซ่ ซึ่งจะทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ
วิดตักน้ำด้วยความเร็ว 56รอบ/นาที สามารถวิดน้ำลึกลงไปใต้ผิวน้ำ ประมาณ 0.50 เมตร
ยกน้ำขึ้นไปสาดกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำด้วยความสูงประมาณ 1.00 เมตร ทำให้มีพื้นที่
ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศกว้างขวางมากขึ้น เป็นผลทำให้ออกซิเจนในอากาศละลายเข้าไป
ในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไป
ยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศจมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย อีกทั้งในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อน
ที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำจนกระทั่ง
ซองน้ำจมน้ำเต็มที่ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้นตามไปด้วย หลังจาก
นั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้ว จะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซอง
น้ำด้วยความเร็วของการไหล 0.20 เมตร/วินาที จึงสามารถผลักดันน้ำออกไปจากเครื่อง มี
ระยะทางประมาณ 10.00 เมตร และผลพลอยได้อีกประการหนึ่งได้แก่ การโยกตัวของทุ่นลอย
ในขณะทำงาน จะส่งผลให้แผ่นไฮโดรฟอยล์ที่ติดตั้งไว้ในส่วนใต้น้ำ สามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อน
ที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับความลึกใต้ผิวน้ำเป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวน
การทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทาง
ที่กำหนดโดยพร้อมกันสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เป็นที่น่าปีติยินดีเป็นล้นพ้นแก่ปวงพสกนิกรไทยทั้งมวล
เมื่อเครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตร
ในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติม
อากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออก
สิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์ด้วย จึงนับได้ว่าสิทธิบัตรเครื่องกลเติมอากาศในพระปรมา
ภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก"รางวัลเทิดพระเกียรติ กังหัน
น้ำชัยพัฒนามีชื่อเสียงโด่งดังยิ่งขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้
ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ในประเภทรางวัลผลงานคิดค้น หรือสิ่ง
ประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจำปี 2536 และทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลนี้
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยสดุดีถึงพระปรีชาสามารถในการคิดค้นเครื่องกลเติม
อากาศชนิดนี้ว่าสามารถบำบัดน้ำเสียได้ดียิ่ง นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันนักประดิษฐ์" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ซึ่งสืบเนื่อง
จากการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536สำหรับรางวัลเทิดพระเกียรตินานาชาตินั้น The Belgian Chamber of
Inventor ซึ่งเป็นองค์กรสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดของยุโรป ได้จัดงาน Brussels
Eureka 2000: 49th Anniversary of the World
Exhibition of Innovation, Research and New
Technology ระหว่างวันที่ 14-20 พฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบรัสเซลส์
ประเทศเบลเยี่ยม ในงานนี้ คณะกรรมการนานาชาติและกรรมการประจำชาติ ได้มีพิธี
ประกาศรางวัลต่อนักวิจัย นักประดิษฐ์ และผู้เข้าชมงานว่า "รางวัลต่างๆ ที่ประกาศ
ในวันนี้ มิใช่ว่าจะพิจารณามอบให้กันอย่างง่ายๆ สิ่งประดิษฐ์ทุกๆ สาขา จะต้องสามารถ
นำไปใช้งานได้กว้างขวาง เกิดประโยชน์ต่อากรพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมได้ทั่วโลก
ดังนั้น Chaipattana Low Speed Surface Aerator, Model
Rx-2 เป็นที่น่าสรรเสริญให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นในครั้งนี้"นอกจากนี้ คณะกรรมการนานาชาติได้กล่าวสดุดีพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว ความว่า "พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นนักพัฒนา มีพระวิริยะอันสูงส่ง
รวมทั้งพระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ที่ดีทรงงานหนักเพื่อประชาชนของพระองค์ ทรง
ใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย สิ่งประดิษฐ์ในพระองค์สามารถนำไปพัฒนาใช้งานได้อย่างกว้าง
ขวางทั่วโลก" รางวัล เหรียญรางวัล และประกาศนียบัตร ที่คณะกรรมการนานาชาติและ
กรรมการประจำชาติทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับการประดิษฐ์
"กังหันน้ำชัยพัฒนา" ดังนี้ถ้วยรางวัล MINISTER J. CHABERT เป็นรางวัลผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์
ดีเด่น มอบโดย Minister of Economy of Brussels Capital Regionถ้วยรางวัล Grand Prix International เป็นรางวัลผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น
มอบโดย International Council of the World Organization
of Periodical Pressเหรียญรางวัล Prix OMPI Femme Inventeur Brussels EUREKA
2000 พร้อมประกาศนียบัตรเป็นรางวัลด้านสิ่งประดิษฐ์ดีเด่นระดับโลก มอบโดย World
Organization of Intellectual Propertyถ้วยรางวัล Yugoslavia Cup เป็นรางวัลสรรเสริญในพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว มอบโดยกลุ่มประเทศยูโกสลาเวียเหรียญรางวัลGold Medal with Mention พร้อมประกาศนียบัตร เป็นรางวัล
สรรเสริญในพระอัจฉริยภาพแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพมอบโดย Brussels
Eureka 2000การดำเนินงานในขณะนี้ได้ผลสำเร็จดีน่าพึงพอใจ สามารถทำให้นำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่น
เหม็นลงไปได้มาก และมีปริมาณออกซิเจนในน้ำเพิ่มขึ้น สัตว์น้ำต่างๆ อาทิ เต่า ตะพาบน้ำ และปลา
สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนสามารถบำบัดความสกปรกในรูปของมวงสารต่างๆ
ให้ลดต่ำลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร้อง
ขอให้มูลนิธิชัยพัฒนาและกรมชลประทานเข้าไปช่วยเหลือในการบำบัดน้ำเสียอย่างเร่งด่วนเป็น
จำนวนมาก อาทิเช่น วัด โรงพยาบาล สถานที่ราชการอื่นๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดกังหันน้ำชัยพัฒนา จึงเป็นที่ยอมรับในประสิทธิภาพของการบำบัดน้ำเสียทั้งในประเทศ
และต่างประเทศ สามารถแก้ไขและปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่ายแต่

พระราชดำริปาล์มน้ำมัน ไบโอดีเซล


วันนี้ ใครๆ ต่างก็พูดถึงน้ำมันไบโอดีเซล ไบโอดีเซลคืออะไรคำตอบ ก็คือ ไบโอดีเซล หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากไขพืชหรือไขมันสัตว์ มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันดีเซลทั่วไป ตรงกับที่จะนำไป
ใช้ในการจุดระเบิด เครื่องยนต์ดีเซล แต่จะมีใครรู้บ้างว่า เรื่องของปาล์ม
น้ำมันและไบโอดีเซล เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและทดลองทดสอบเป็นเวลานานนับสิบๆ ปีแล้ว ผลของการทดลองทดสอบตามพระราชดำริในเรื่องนี้ประชาชนได้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ปาล์มน้ำมันสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันปาล์มและนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และทรงทดลองให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยพระองค์เองด้วยรถยนต์พระที่นั่งที่ประทับใช้เมื่อครั้งเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่2 มิถุนายน 2544 ในวันนั้น ... รถยนต์พระที่นั่งติดสติ๊กเกอร์ท้ายรถว่ารถคันนี้ใช้น้ำมันปาล์ม 100%อีก 4 ปีต่อมา...คือในวันนี้ เครื่องยนต์ดีเซลสามารถเติมน้ำมันไบโอดีเซลได้แล้วที่โรงงานสาธิตผลิตเมทิลเอสเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และที่สถานีจ่ายน้ำมันไบโอดีเซลที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริเรื่องนี้นับย้อนหลังไปได้ 30 ปี คือในวันที่ 9 กันยายน 2518พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรที่นิคมสร้างตนเองควนกาหลง จังหวัดสตูล และในปีถัดมาได้เสด็จฯ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทอดพระเนตรโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแบบชาวบ้านที่โรงงานของนิคมสร้างตนเองควนกาหลง จนกระทั่งในปี 2526มีพระราชกระแสที่ชัดเจนว่า ควรจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยเหล่านี้ ได้มีโอกาสรวมกลุ่มกันทำการสกัดน้ำมันปาล์มในรูปของโรงงานขนาดเล็กที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ทรงเน้นถึงประโยชน์ของปาล์มน้ำมันในทุกๆ ส่วน และไม่ให้ทิ้งส่วนใดไปอย่างไร้ค่า เช่น ทะลายเปล่า ก็อาจนำมาทำปุ๋ย หรือเพาะเห็ด ส่วนกากปาล์มก็สามารถนำไปใช้เลี้ยงวัว ควายและปลา หรือทำเป็นเชื้อเพลิงแทนไม้ฟืนก็ได้ หากเกษตรกรสามารถแปรรูปน้ำมันดิบให้เป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถผลิตเป็นน้ำมันปรุงอาหารเนยขาว เนยเทียม สบู่ และผงซักฟอกได้ ก็จะทำให้เกษตรกรมีโอกาสใช้และจำหน่ายผลผลิตเหล่านี้เพื่อกินและใช้ในท้องถิ่นของตัวเอง จากนั้น มีพระราชกระแสให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยสร้างโรงงานสาธิตสกัดน้ำมันปาล์มที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และในปี 2528 ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรโรงงานนี้ และมีพระราชกระแสเพิ่มเติมให้สร้างโรงงานที่สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เพื่อเป็นโรงงานสาธิตให้กลุ่มเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อยที่มีความพร้อม จัดทำคู่มือปาล์มน้ำมันและการแปรรูปน้ำมันปาล์มเผยแพร่ รวมทั้งจัดตั้งกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก ในปี 2531 พระราชทานพระราชดำริให้จัดสร้างโรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส อีกแห่ง โดยนำผลผลิตปาล์มน้ำมันมาสกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบและแปรรูปต่อเนื่องจนถึงขั้นบริโภค เน้นการสาธิตให้เกษตรกรมาศึกษาหาความรู้ และเห็นประโยชน์ว่าปาล์มน้ำมันสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง และเมื่อเข้าใจแล้วจะได้นำไปปลูกในพื้นที่ของตนต่อไป เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการใช้น้ำมันปาล์มโอเลอีนบริสุทธิ์ และเมทิลเอสเตอร์เดินเครื่องจักรกลการเกษตรที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีพระราชกระแสว่า ? พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยเกี่ยวกับการใช้น้ำมันปาล์มผสมน้ำมันดีเซล เพื่อใช้ในเครื่องจักรกลการเกษตร ควรทดลองทำในเชิงธุรกิจลักษณะสถานีจำหน่ายในสหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และ มีพระราชประสงค์จะสนับสนุนโครงการนี้เป็นการส่วนพระองค์? การศึกษาทดลองและพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตจึงดำเนินการเรื่อยมา จนในวันนี้โรงงานทั้งสามแห่งสามารถสนองพระราชดำริได้อย่างครบถ้วน ทั้งในเรื่องการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ การกลั่นน้ำมันปาล์มดิบเป็นน้ำมันปาล์มโอเลอีนบริสุทธิ์ ผลิตเนยขาว เนยเทียมจากไขเสตียรินบริสุทธิ์ รวมทั้งผลิตสบู่ซักล้าง สบู่ฟอกร่างกายได้ และนำไปใช้เร่งน้ำยางพาราได้เป็นผลสำเร็จที่สำคัญ การทดลองใช้น้ำมันไบโอดีเซลกับขบวนรถไฟดีเซลรางสายหาดใหญ่-สุไหงโกลก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ของมหาวิทยาลัยฯ รถลากพ่วง รถบรรทุก เครื่องจักรกลการเกษตร และบุคคลภายนอก ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจมากและผู้ที่ได้ทดลองใช้ต่างพูดกันว่า ใช้แล้วควันรถไม่ดำ ไม่มีกลิ่นเหม็น กำลังรถดีเหมือนเดิม ส่วนรถบรรทุก 6 ล้อ กำลังรถดีกว่าเดิม การติดเครื่องยนต์เป็นปกติมีเพียงรถ 6 ล้อ และเครื่องสูบน้ำที่ต้องสตาร์ท 2 ครั้ง เมื่อราคาน้ำมันดีเซลในปัจจุบันมีการปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด และเงื่อนไขบางอย่างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำให้มีผู้มาขอซื้อน้ำมันไบโอดีเซลเป็นจำนวนมากขึ้น จนโรงงานผลิตไม่ทันจำหน่าย ทำให้มหาวิทยาลัยฯ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มีแผนงานที่จะขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้ทันแก่ความต้องการของผู้ใช้ และเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มเพิ่มเติมอีกว่า "...น้ำมันปาล์มทราบว่าดีเป็นน้ำมันที่ดีใช้งานได้ ใช้บริโภคแบบใช้น้ำมันมาทอดไข่ได้ มาทำครัวได้ เอาน้ำมันปาล์มมาใส่รถดีเซลได้ กำลังของน้ำมันปาล์มนี้ดีมากได้ผล เพราะว่าเมื่อได้มาใส่รถดีเซลไม่ต้องทำอะไรเลย ใส่เข้าไป แล่นไป คนที่แล่นตามบอกว่าหอมดี... " ณ วันนี้ ... ปาล์มน้ำมันจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีผู้สนใจที่จะปลูกกันมากขึ้น แม้ว่า ปาล์มน้ำมันจะเป็นพืชยืนต้นที่ทนทานต่อภัยธรรมชาติ แต่มีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงควบคู่ไปด้วย ก็คือ ความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ สภาพอากาศ ความชื้น และยังต้องระมัดระวังสายพันธุ์ที่จะปลูกด้วย มิฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ลงทุนไปทั้งหมดนั้น ก็อาจจะไม่คุ้มค่าและคุ้มทุนได้ ทั้งหมดนี้คือ พระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมองเหตุการณ์ไปไกลเกินกว่าที่ใครๆ จะนึกถึงกัน ทรงมองเห็นคุณค่าของปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชวัตถุดิบที่มีในบ้านเมืองเราที่มีศักยภาพจะใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนได้ในยามที่ทั่วโลกจะต้องพึ่งพาเมื่อถึงภาวะวิกฤติทางด้านน้ำมัน และทรงอดทนรอผลแห่งความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาจนกลายเป็นไบโอดีเซลมาอย่างยาวนาน ก่อนที่จะมีการตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานทดแทนกันอย่างกว้างขวาง ในขณะนี้พระราชดำริเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ประสบชัยชนะแห่งการพัฒนาแล้ว...ในวันนี้

บริการสนทนาออนไลน์

บริการสนทนาออนไลน์
บริการสนทนาออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Chat (IRC - Internet Relay Chat) หรือเรียกว่า Talk เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน โดยผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบ (ทั้งโดยการพิมพ์ และพูด) กับผู้อื่นๆ ในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกัน ปัจจุบันบริการนี้ ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยอาศัยอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น กระดานสนทนา, ไมโครโฟน, กล้องส่งภาพขนาดเล็กเป็นต้น

บทความ


กระดานข่าว
กระดานข่าว หรือ Bulletin Board Sytem (BBS) เป็นบริการข่าวสารรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ของเครือข่าย ตามหมวดหมู่ที่มีการกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดเพิ่มเติมก็ได้ ที่เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) เช่น กลุ่มผู้สนใจด้านศิลปะ, ด้านโปรแกรม เป็นต้น ปัจจุบันเป็นบริการหนึ่งที่นิยม และมีการปรับรูปแบบให้อยู่ในรูปของเอกสาร HTML ทำให้สามารถเรียกดู และใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว


แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าในอนาคต อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น และจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบใหม่ ดังนี้ * การคุยโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ซึ่งปัจจุบันองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ก็นำมาใช้ผ่านหมายเลข 1234 ทั่วประเทศ (ต้นปี 2545) * การคุยระยะไกลแบบมีภาพและเสียงของคู่สนทนา (Voice conference) * การนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์กับเครือข่ายเคเบิ้ลทีวี (Web TV & Cable MODEM) * การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Internet Device)



Emoticon
เป็นสัญลักษณ์ที่คิดค้นเพื่อให้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการ Chat กระทำได้ง่ายและสะดวก โดยสัญลักษณ์แต่ละชิ้น จะแทนการแสดงออกทางอารมย์ลักษณะต่างๆ และเป็นการเพิ่มลูกเล่นให้กับการสื่อสาร สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้ ยิ้ม ยิ้มและขยิบตา หน้านิ่วคิ้วขมวด ยิ้มแบบเจื่อนๆ :-> อยู่ในอารมย์ขันเล็กๆ >:-> อยู่ในอารมย์ไม่ชอบ >;-> ไม่ชอบเป็นอย่างมาก >:-C โกรธแล้วน่ะ ฝืนๆ ยิ้ม (-: สัญลักษณ์ของคนถนัดมือซ้าย -o กำลังหาว - ง่วงนอน :-/ งง <> ไม่มีข้อคิดเห็นใดๆ <> หัวเราะ ห้ามพูด, ถูกปิดปาก แลบลิ้น :-9 กำลังชำเลือง, หรือค้อนให้ C= เป็นกุ๊กในครัว *< เป็นนางฟ้า O เป็นซานตาครอส :-@ ตระโกน :-O โอ้โฮ [ ฟังเพลง (สวมหูฟัง) :-* เปรี้ยวปาก ~ พ่นน้ำลาย :~) เป็นหวัด :'-) ร้องไห้ด้วยความสุข หัวเราะใส่กัน 8-O โอ้มายก๊อด :---} พูดโกหก (จมูกยาว)



บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
* Internet CardANET * ASIA ACCESS * Asia Infonet * CS Internet * Cwn * Far East Internet * Idea Net * Ji-NET * Internet Thailand * Internet KSC * Data Line Thai * Samart Online * Siam Global Access * Pacific Internet (Thailand) * E-Z Net Company * Roynet Public Co., Ltd * Cable & Wireless Services (Thailand) Limited * Loxley



Cybersquatter
Cybersquatter หมายถึง บุคคลที่คิดหากำไรทางลัด โดยการนำเอาเครื่องหมายการค้า หรือชื่อทางการค้าที่มีชื่อเสียง มาจดเป็นโดเมนเนม โดยเจ้าของไม่อนุญาต รวมถึงการจดไว้เพื่อขายต่อให้กับเจ้าของชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง

หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่น อีกหลายหน่วย ดังนี้ * การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ * ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ * ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล * THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT * NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย * ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ



ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
โครงสร้างของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (พ.ย. 2545) ปัจจุบันประกอบด้วย ISP 18 ราย และผู้ให้บริการแบบไม่หวังผลกำไรอีก 4 ราย แต่มีรูปแบบช่องรับ/ส่งสัญญาณที่แตกต่างกันออกไป << คลิกเพื่อดูผังโครงสร้าง >> ทั้งนี้ ISP ทุกราย (ทั้งเชิงพาณิชย์และไม่หวังผลกำไร) จะต้องเช่าช่องสัญญาณ จากจากผู้ให้บริการวงจรสื่อสารอีกต่อหนึ่ง โดยแบ่งเป็น * ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ - ISP สามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจาก ทศท., กสท., TelecomAsia, DataNet โดยวงจรของทุกราย จะเชื่อมต่อ กับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ การติดต่อสื่อสาร ระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ กสท. * ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ - ISP จะต้องผ่าน กสท. เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบัน ยังไม่ให้อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูลเข้า-ออกของไทย โดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG (International Internet Gateway)



การป้องกันข้อมูลไม่พึงประสงค์บนเว็บ
เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเปิดที่อนุญาตให้ผู้ใดก็ได้ที่สนใจ สามารถนำเสนอได้อย่างอิสระ ทำให้ข้อมูลบนเครือข่าย มีหลากหลาย ทั้งคุณ และโทษ การกลั่นกรองเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับเยาวชน เป็นเรื่องที่กระทำได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามก็พอจะมีเทคนิคหรือวิธีการกลั่นกรองเนื้อหา ได้ดังนี้ * การกลั่นกรองที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ * การกลั่นกรองในส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต การกลั่นกรองที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ การกลั่นกรองที่เครื่องของผู้ใช้มีจุดเด่นที่กระทำได้ง่าย รวดเร็ว แต่อาจจะกลั่นกลองได้ไม่ครบทั้งหมด และข้อมูลที่กลั่นกรองอาจจะครอบคลุมถึงเนื้อหาที่มีสาระประโยชน์ได้ด้วย เช่นต้องการป้องกันเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Sex ก็อาจจะล็อกเว็บไซต์การแพทย์ที่ให้คำแนะนำด้านเพศศึกษาไปด้วยก็ได้ วิธีการนี้กระทำได้โดย วิธีที่ 1. กำหนดค่า Security และระดับของเนื้อหา ผ่านเบราเซอร์ IE ด้วยคำสั่ง Tools, Internet Options แล้วกำหนดค่าจากบัตรรายการ Security หรือ Content วิธีที่ 2. ติดตั้งโปรแกรมที่ทำหน้าที่สกัดกั้นการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดรายการเว็บไซต์ได้ตามที่ต้องการ โดยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้แก่ * Net Nanny * Surfwatch * Cybersitter * Cyberpatrol การกลั่นกรองที่ระบบของผู้ให้บริการ (ISP) เป็นระบบที่เรียกว่า Proxy โดยจะทำหน้าที่ตรวจจับข้อมูลเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ ตามรายการที่ระบุไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าไปยังผู้ใช้ ซึ่งมีผลต่อลูกค้าของผู้ให้บริการทุกราย ซึ่งถือว่าเป็นการคลุมระบบทั้งหมด แต่ก็มีข้อเสียคือ ระบบจะทำงานหนักมาก เนื่องจากต้องคอยตรวจสอบการเรียกดูเว็บไซต์จากผู้ใช้ทุกราย และเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ใช้บริการด้วย



อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่น ข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลัก ที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่ * Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง * บุลากรในองค์กร หน่วยงานคุณไล่พนักงานออกจากงาน, สร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน นี่แหล่ะปัญหาของอาชญกรรมได้เช่นกัน * Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้ * Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน * CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรง อีกทางหนึ่งได้เช่นกัน * Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมาใช้งานได้ทันที * Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุง เป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไปจู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว * Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกัน การเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน * Malicious scripts ก็เขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน มั่นใจหรือว่าไม่เจอปัญหา อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแผงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั่น จะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยเราเองไม่รู้ว่าเรานั่นแหล่ะ เป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นด้วยตนเอง น่ากลัวเสียจริงๆๆ * Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร * ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001 พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับ ที่ไม่หย่อนกว่ากัน เห็นไหมครับว่าปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ คงจะช่วยให้รอดพ้นปัญหานี้ได้บ้างน่ะครับ


Ethernet
ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ ปัจจุบัน Ethernet ได้พัฒนาไปมาก เป็น Fast Ethernet ที่ส่งข้อมูลได้ 100 Mbps และ Gigabit Ethernet


Leased Line
วงจรเช่า หรือคู่สายเช่า (Leased Line) เป็นวงจรเหมือนวงจรโทรศัพท์ ที่มีการกำหนดต้นทาง และปลายทางที่แน่นอน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องหมุนเบอร์ของปลายทางเมื่อต้องการติดต่อ โดยอาจจะ เป็นการติดต่อด้วย Fiber Optics หรือดาวเทียมก็ได้ ปัจจุบันนำมาใช้เป็นสัญญาณเชื่อมเครือข่าย อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง เนื่องจากเป็นอิสระจากคนอื่น ด้วยความเร็วตั้งแต่ 9600, 64, 128 kbps, 34 Mbps ระบุต้นทางและปลายทางชัดแบบ Leased Line เรียกว่าการส่งข้อมูลแบบ Circuit Switching ซึ่งมีข้อเสียคือ หากไม่มีการใช้สัญญาณในเวลาใดๆ ก็จะเสียคุณค่า และประสิทธิภาพ ของวงจรสื่อสายโดยรวมไปแบบสูญเปล่า การเลือกใช้ Leased Line ต้องพิจารณาจากผู้ให้บริการ, ความเร็ว และชนิดของสื่อ’


Frame Relay
Frame Relay เป็นบริการทางเครือข่ายชนิดหนึ่ง สำหรับเชื่อมต่อ LAN หรือเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ที่อยู่ห่างกัน โดยพัฒนามาจากเทคโนโลยี X.25 เป็นเครือข่ายระบบดิจิทัลที่มีอัตราความผิดพลาดของข้อมูลต่ำ มีระบบตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลที่ปลายทาง ส่งข้อมูลได้เร็ว ประหยัดเวลา ลักษณะการส่งข้อมูลดีกว่า Leased Line เนื่องจากเป็นแบบ packet switching คือไม่มีการจองวงจรสื่อสารไว้ส่วนตัว ข้อมูลแต่ละคนจะถูกแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ เรียกว่า packet และส่งเข้าไปในเครือข่าย เพื่อส่งต่อไปยังปลายทาง ทำให้เครือข่ายเป็นเครือข่ายรวม ใช้เครือข่ายได้อย่างคุ้มค่า


การสื่อสารแบบ Connection Oriented
การสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ซึ่งทำให้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถูกเรียกว่า เครือข่าย IP นอกจากกฎ IP ใน OSI Model ของเครือข่าย ยังมีกฏ TCP (Transmission Control Protocol) ทั้งนี้ TCP จะเป็นการสื่อสารแบบ Connection Oriented คือมีลักษณะเหมือนกันส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ต้องมีการสร้าง Connection ก่อน (คล้ายหมุนเบอร์ปลายทาง) จึงจะส่งข้อมูล และเมื่อส่งข้อมูลเสร็จสิ้น ก็จะทำการยุติ Connection (วงหูโทรศัพท์) ทั้งนี้เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลทีละชิ้นไปเรื่อยๆ ผู้รับก็รับข้อมูลนั้นๆ ตามลำดับก่อนหลัง ทำให้เสียเวลาในจุดเริ่มต้น แต่การส่งมีความถูกต้อง และรับรองว่าปลายทางได้รับข้อมูล ลักษณะงานที่ติดต่อแบบ TCP ก็คือ e-mail, WWW, FTP


การสื่อสารแบบ Connectionless
นอกจากกฏ IP และ TCP ยังมีกฏ UDP (User Datagram Protocol) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ Connectionless คือข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นชิ้นๆ ตามที่อยู่ปลายทาง แล้วผ่านตัวกลางไปยังปลายทาง อาจจะใช้เส้นทางคนละเส้นทางกันก็ได้ รวมทั้งข้อมูลแต่ละชิ้นอาจจะถึงก่อนหลังแตกต่างกันไปได้ด้วย ทำให้การเริ่มต้นส่งทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาสร้าง Connection แต่ก็มีจุดอ่อนคือ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างงานที่ใช้การสื่อสารแบบ UDP คือ การส่งสัญญาณเสียงดิจิทัล, Video